Loading...

Menu

Menu

ที่ท่องเที่ยว

รถยนต์ไฟฟ้ากับแนวคิด “สลับแบตใน 3 นาที”- เช่ารถเชียงใหม่ ท่องเที่ยว

รถยนต์ไฟฟ้ากับแนวคิด “สลับแบตใน 3 นาที”

หลายคนจึงเกิดแนวคิดที่ว่า แล้วถ้ารถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องชาร์จแบต แต่สลับแบตลูกใหม่ใส่เข้าไปเลยล่ะ?

แนวคิดที่ว่าได้ถูกนำมาใช้จริงที่ไต้หวันกับบริษัทสตาร์ทอัพสกูตเตอร์ไฟฟ้าที่ชื่อว่า gogoro และก็ประสบสำเร็จอย่างล้นหลาม จนค่ายดังกล่าวเติบโตขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของประเทศทั้งที่ก่อตั้งขึ้นมาเพียง 9 ปี แต่ด้วยการที่แบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า กับสกูตเตอร์ไฟฟ้า มีขนาดและความจุต่างกันหลายเท่า มันจะเป็นไปได้จริงหรือกับแนวคิดนี้?

บริษัทแรกที่นำแนวคิดมาใช้ ที่จริงแนวคิดสลับแบตเตอรี่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2007 จากบริษัทที่ชื่อว่า Better Place  ถูกก่อตั้งโดย Shai Agassi นักธุรกิจชาวอิสราเอล ที่มีความคิดว่า ‘โลกจะน่าอยู่ขึ้นถ้าหากมีประเทศหนึ่งไม่พึ่งพาน้ำมัน แล้วประเทศอื่นก็จะทำตาม’ เขาจึงพิจารณาว่าในอนาคต รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามีมีบทบาทกับวงการยานยนต์อย่างแน่นอน (ในยุคนั้น รถยนต์ไฟฟ้ายังเป็นแค่รถที่ไม่สามารถใช้งานได้บนถนนจริงๆ ) และการที่รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมได้ ไม่ใช่การพัฒนาแบตเตอรี่ให้วิ่งได้ไกลขึ้น แต่ต้องทำให้การเติมพลังงานสะดวกเหมือนการเติมน้ำมัน Agassi จึงก่อตั้ง Better Place ขึ้นมาเป็นบริษัทที่จะมุ่งเน้นการสร้างสถานีสลับแบตเตอรี่ที่เปรียบเหมือนกับเป็นปั๊มน้ำมันของรถยนต์ไฟฟ้า

การสลับแบตเตอรี่จะทำงานด้วยเครื่องจักร ด้วยเวลาไม่ถึง 2 นาที แบตรถของคุณจะก็เต็มและพร้อมไปต่อทันที

Better Place จึงทยอยเปิดเครือข่ายหลายแห่งทั้ง อเมริกา ออสเตรเลีย เดนมาร์ก อิสราเอล และเจรจากับอีก 25 ประเทศถึงการเปิดสถานีในอนาคต


แต่ท้ายที่สุดแล้ว Better Place ก็ล้มละลายลงในปี 2013…
เนื่องจากการที่ Better Place ทำหน้าที่เป็นคนเติมพลังงาน เขาจำเป็นต้องมีผู้ผลิตรถที่ต้องพึ่งพาสถานีสลับแบต

Better Place จึงได้ทำการจับมือกับ Renault-Nissan ที่มีแผนจะขายรถยนต์ไฟฟ้าในยุคนั้น
แต่กลับกลายเป็นว่ายอดรถขายออกมาย่ำแย่มาก ทำได้แค่ราวๆ 500 คัน ทำให้ลูกค้าของ Better Place เป็นแค่คนกลุ่มที่เล็กมากๆ หลังขาดทุนอยู่นาน และอนาคตของบริษัทดูจะไปต่อไม่ได้ สุดท้ายบริษัทก็ประกาศล้มละลาย



Tesla ก็เคยมีแนวคิดสลับแบตด้วย
ย้อนกลับไปราว 4 ปีก่อน ทางค่าย Tesla เคยจดสิทธิบัตรเครื่องจักรสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า พร้อมกับสร้างสถานีเปลี่ยนแบตขึ้นมาเพื่อทดลองอย่างจริงจัง

แต่ด้วยหลายๆ ปัญหา และปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานขนาดของแบตเตอรี่ที่มาจากโรงงานผู้ผลิตข้างนอกได้ บวกกับ Tesla คิดว่า ถ้าหากคนปรับตัวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้แล้ว การสลับแบตก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เอาเงินทุนไปขยายโครงข่าย Supercharger ดีกว่า สุดท้ายโครงการจึงถูกพับลงไป ไม่ได้สานต่อมาจนถึงปัจจุบัน

แต่การสลับแบตอาจไปได้สวยที่จีน แนวคิดการสลับแบตดูจะไปต่อไม่ได้แล้วที่สหรัฐอเมริกา แต่สถานการณ์อาจกลับกันที่ประเทศจีน เมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าว Bloomberg ได้ออกมารายงานว่าล่าสุดทางการของจีนกำลังหาความเป็นไปได้ในการ ‘กำหนดมาตรฐานของสถานีสลับแบต’ ขึ้นมา โดยเป้าหมายคือการทำให้สถานีสลับแบต สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกรุ่น และทุกประเภท  เพราะรัฐมองว่าการสนับสนุนโครงข่ายสลับแบต จะสามารถทำให้จำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

ส่วนบริษัทที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญคือ BAIC BluePark New Energy Technology Co., เป็นบริษัทย่อยในเครือ BAIC (เป็นเครือที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ)

ซึ่งปัจจุบันกำลังเปิดบริการสถานีสลับแบตอยู่อยู่ถึง 187 แห่ง ใน 15 เมือง

โดยลูกค้ากลุ่มหลักตอนนี้คือรถแท็กซี่กว่า 16,000 คันที่ใช้รถ BAIC EV300 ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 370,000 บาท และเก็บค่าบริการสลับแบตแบบเหมาเดือนละประมาณ 1,850 บาท นอกจาก BAIC แล้วปัจจุบันก็มี NIO ก็มีบริการสลับแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน โดยมีค่าบริการอยู่ที่ราวๆ 310 บาท/ครั้ง ซึ่งปัจจุบันพวกเขามีสถานีสลับแบตอยู่ประมาณ 125 แห่ง ซึ่งก็ต้องรอดูว่ารัฐจะผลักดันแนวคิดสลับแบตนี้จนประสบความสำเร็จในวงกว้างหรือไม่ และจะใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่

อย่าลืมข้อได้เปรียบสำคัญของจีนก็คือ ภาครัฐ สามารถกำหนดนโยบายและบังคับให้เอกชนนำไปใช้ได้ ซึ่งนั่นต่างจากทางฝั่งสหรัฐฯ แน่นอน แต่จริงๆ แล้ว การสลับแบตมันจำเป็นจริงหรือ?
โดยปกติแล้วสำหรับคนทั่วไปมันอาจดูไม่จำเป็นนัก เพราะปกติผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะชาร์จแบตรถที่บ้านเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าการสลับแบตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับคนที่เดินทางไกลบ่อยๆ รวมถึงคนทั่วไป ที่นานๆ ครั้งจะเดินทางไกลด้วยรถส่วนตัว

การสลับแบตนี้จะสร้างประโยชน์อย่างมากให้กับกลุ่มรถแท็กซี่ ที่ต้องขับรถตลอดวัน และไม่สามารถรอรถชาร์จแบตเป็นเวลานานได้ เพราะเวลาที่เสียไป ก็หมายถึงรายได้หายไป และมันจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คนทั่วไปที่ห่วงปัจจัยด้านระยะทาง กล้าซื้อทื่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ด้วยเช่นกัน (และสุดท้ายพวกเขาอาจจะจะพบว่าไม่ได้สลับแบตบ่อยขนาดนั้นก็เป็นได้)